เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 3.จันทูปมาสูตร

จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ ฉันนั้น ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภ
อันเป็นของตน ฉันใด ก็จงเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุ
เช่นนี้จึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
จิตของกัสสปะผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดย
คิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ กัสสปะเป็นผู้
พอใจ ดีใจ ด้วยลาภอันเป็นของตน ฉันใด ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชน
เหล่าอื่น ฉันนั้น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นไร ไม่บริสุทธิ์
ของภิกษุเช่นไรบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
‘ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรม
ของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสธรรม และผู้ที่เลื่อมใสแล้ว พึงทำอาการของผู้
ที่เลื่อมใสต่อเรา’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลาย
พึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติ
เพื่อความเป็นอย่างนั้น’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็น
ธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรม
แก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :238 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [5. กัสสปสังยุต] 4. กุลูปกสูตร

กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา
ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’
จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชน
เหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

จันทูปมาสูตรที่ 3 จบ

4. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล

[147] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุเช่นไร
สมควรเข้าไปสู่ตระกูล ภิกษุเช่นไรไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก” ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอชนทั้งหลายจงให้
เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น
อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่
เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล เมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลาย
ไม่ให้ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้น้อย ไม่ให้มาก ฯลฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :239 }